ความรู้

การติดตั้งโปรแกรม Dreamweaver 8              
      Macromedia Dreamweaver 8 เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ และบริหารเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในกลุ่มโปรแกรมประเภทเดียวกัน ในปัจจุบัน
เนื่องจากคุณสมบัติของโปรแกรมที่มีความสะดวกต่อการใช้งาน มีฟังก์ชันที่ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อความ รูปภาพ ตาราง ฟอร์ม วิดีโอ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ
ภายในเว็บเพจได้อย่างสวยงามตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่ต้องใช้ภาษาสคริปต์ที่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนก่อน ด้วยความสามารถและคุณสมบัติของโปรแกรม จึงเหมาะสำหรับนักเรียน
การติดตั้งโปรแกรม 
               
การติดตั้งโปรแกรม  Dreamweaver 8  มีขั้นตอนดังนี้

- ใส่แผ่นซีดีรอม  โปรแกรม  Dreamweaver 8  เข้าไปในไดร์ฟซีดีรอม
-โปรแกรมจะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ  หรือถ้าเปิดเข้าไปที่ไดรฟ์ซีดีรอม  ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Setup โปรแกรม

  
          จะได้หน้าต่างข้อตกลงสิทธิการใช้งาน (License Agreement)  คลิกเลือก  I accept …  แล้วคลิกปุ่ม  Next

  เลือกไดเรกทอรี่ที่ต้องการ  เช่น  C:\Program File … ถ้าต้องการเปลี่ยนให้คลิกปุ่ม  Change …  เลือกไดรฟ์และโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม  Next

   เลือกชนิดของโปรแกรมที่จะใช้ร่วมกับ  Dreamweaver (Default Editor)  ถ้าเลือกทั้งหมดแล้วคลิก ปุ่ม  Select All  แล้วคลิกปุ่ม  Next

      คลิกปุ่ม  Install  เพื่อติดตั้งโปรแกรม


    เริ่มติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องจนเสร็จสมบูรณ์


    คลิกปุ่ม  Finish



การเปิดใช้งานโปรแกรม 
      หลังจากติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว  สามารถเรียกใช้งานโปรแกรม ดังนี้  เรียกผ่านปุ่ม  Start  มีวิธีทำ คือ
- คลิกที่ปุ่ม  Start  บนทาสก์บาร์
- เลือกคำสั่งย่อย  Programs >> Macromedia >> Macromedia Dreamweaver 8
เรียกผ่านไอคอนบนเดสก์ทอป



        กรณีที่ได้สร้างไอคอน  Dreamweaver 8  ไว้บนเดสก์ทอป  สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนได้ เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างที่เรียกว่า  หน้าเริ่มต้น (Start Page)  เพื่อให้ผู้ใช้เรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังรูป


ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Dreamweaver 8



  - แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลที่กำลังใช้งานอยู่ 
  - แถบคำสั่ง (Menu Bar) เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม Dreamweaver 8 
  - แถบเครื่องมือ (Document Tool Bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการกับเว็บเพจ ณ ขณะนั้นเช่นการเปลี่ยน   มุมมองในการดูหน้าเว็บเพจ 
  - แถบแทรก (Insert Bar) เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ในเว็บเพจซึ่งประกอบด้วยชุดเครื่องมือ 8 ชุดด้วยกัน 
  - พื้นที่ออกแบบ (Document Window) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับใส่เนื้อหาและจัดองค์ประกอบของเว็บเพจ โดยประกอบด้วยมุมมองการทำงาน 3 รูปแบบด้วยกันคือ
Design, Code และ Code and Design

-  แถบสถานะ (Status Bar) เป็นส่วนที่แสดงสถานะของการใช้งานโปรแกรม ณ ขณะนั้น หน้าต่าง Properties เป็นส่วนของคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงหรือตกแต่ง
-  กลุ่มพาเนล (Panel Group) เป็นกลุ่มของแผงควบคุมที่ใช้แทนคำสั่งและติดต่อกับฐานข้อมูล

 การเริ่มต้นการสร้างเว็บไซต์และเว็บเพจการกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์

   
         การเตรียมพื้นที่หรือโฟลเดอร์สำหรับเก็บเว็บไซต์โดยจัดการสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บข้อมูลหรือเก็บไฟล์ต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการจัดทำเว็บไซต์ และง่ายต่อการบริหารงานเว็บไซต์ ดังนั้นการจัดการวางแผนจัดเก็บข้อมูลลงในโฟลเดอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ลักษณะของการจัดเก็บ เช่นโฟล์เดอร์หลักใช้เก็บไฟล์ประเภท .html

- โฟล์เดอร์รูปภาพ
- โฟล์เดอร์เสียง
- โฟล์เดอร์ภาพเคลื่อนไหว อีกทั้งยังสามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อย (Sub folder)
ลงในโฟลเดอร์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การสร้างไซต์ (Site) งาน

- คลิกที่เมนู  Site  แล้วเลือกคำสั่ง  New Site …


     จะเข้าสู่หน้าต่าง  Site Definition เพื่อกำหนดชื่อไซต์พิมพ์ชื่อไซต์ที่ต้องการ เช่น  Com-learning2u.com  แล้วคลิกปุ่ม  Next
  


   เลือกไม่ต้องติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ในขณะนี้ (No, I don’t …)  แล้วคลิกปุ่ม  Next


    กำหนดวิธีแก้ไขงานและโฟลเดอร์ที่เก็บเว็บไซต์  แล้วคลิกปุ่ม Next

เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น None  แล้วคลิกปุ่ม  Next


     จะได้รายละเอียดที่เราตั้งค่าไว้ทั้งหมด  คลิกปุ่ม  Done


   โฟล์เดอร์ที่สร้างจะปรากฏอยู่ที่พาเนลไฟล์


การสร้างไฟล์และโฟลเดอร์ใหม่
                หลังจากได้สร้างไซต์งานไว้แล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโฟลเดอร์ย่อย  และไฟล์งานตามที่ได้วางแผนไว้  ซึ่งมีวิธีการสร้าง  ดังนี้

- คลิกขวาที่ไซต์  ในพาเนลไฟล์  จะได้เมนูลัด  และเลือกคำสั่ง  New Folder

   จะปรากฏโฟลเดอร์ใหม่ชื่อ Untitled  ให้พิมพ์เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ใหม่  เช่น  Images



         สร้างโฟลเดอร์ต่าง ๆ  ตามที่ต้องการ  ส่วนการสร้างไฟล์งานให้เลือกคำสั่ง  New File  จะได้ไฟล์งานชื่อ  Untitled  ให้เปลี่ยนชื่อใหม่  เช่น  index.html


      การแก้ไขไฟล์และโฟลเดอร์ให้คลิกขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ  แล้วเลือกคำสั่ง  Edit  จะมีคำสั่งย่อยให้เลือก  เช่น  Copy Delete  ฯลฯ 

  - เมื่อสร้างโฟลเดอร์และไฟล์ต่าง ๆ ในไซต์งานของเราครบแล้ว  ถ้าเปิดดูโฟลเดอร์จะพบรายการที่ได้สร้างไว้ 

ข่าวความรู้
           วีดีโอนี้ เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้ที่ความสนใจได้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นในระบบบริหาร และสามารถนำไปใช้ในการดำเนิดการบริหารงานและจัดระบบของงานในองค์กรของผู้สนใจเองได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น